Is it the end of physical product (CD/VCD)??
จริงหรือที่ตลาดของ CD/VCD (physical product) ถึงกาลอวสาน
ฉลองครบล้านตลับ! หรือ 1 mil copies! เพื่อนๆคงเคยได้ยินกันมาบ้างนะครับสำหรับคนยุคเดียวกับผม ช่วงหนึ่งของวงการเพลงบ้านเรา เพื่อนๆจะได้ยินค่ายเพลงต่างๆออกมาประกาศฉลองครบล้านกันอยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งแร๊พเปอร์หนุ่มจากค่ายเล็กๆอย่าง Bakery Music, Joeyboy ก็ยังได้ฉลองครบล้านกันไป เป็นยุคสมัยที่วงการเพลงเติบโตอย่างมาก มีค่ายเล็กค่ายน้อยต่างผุดขึ้นมาเป็นเหมือนดอกเห็ด แต่ทุกวันนี้เพื่อนๆยังได้ยินอัลบั้มไหนฉลองครบล้านกันบ้างมั้ยครับ อืมมมม ... ผมว่าน้อยนะ เท่าที่นึกได้ก็มี โปงลางสะออน เท่าที่รู้ทุกวันนี้อัลบั้มไหนขายได้เลข 6 หลักก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับ
เปิดหัวเรื่องกันแบบนี้ ถูกต้องครับ! วันนี้เรามาพูดคุยถึงเรื่องตลาด CD/VCD เพลงของบ้านเรากันดีกว่าครับ ทุกวันนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆคงได้ยินเรื่องกระแสเพลงดิจิตอล (Digital music) ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ตลาด CD/VCD หรือที่เรียกว่า physical goods เวลาของ CD/VCD หมดแล้วงั้นหรือ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ผมว่าเรามารู้จักตลาด physical นี้กันก่อนดีกว่านะครับ
เพื่อนๆรู้มั้ยว่าสินค้าประเภทเพลงนี้มีอายุค่อนข้างสั้นมาก ถึงสั้นมากที่สุด คืออัลบั้มไหนไม่มีกระแสภายใน 1 อาทิตย์ถึง 1 เดือน ก็เตรียมขุดหลุมฝัง เนื่องจากธรรมชาติของธุรกิจ CD/VCD นั้น เป็นธุรกิจที่สามารถคืนสินค้าได้ 100% ถามว่ามันหมายความว่าไง มันหมายความว่า เมื่อร้านค้า (ยี่ปั๊ว, ซาปั๊ว) รับสินค้าไปขายนั้น เมื่อถึงเวลาหนึ่ง เมื่อสินค้าเริ่มไม่มียอดขาย(ขายไม่ออก) ทางร้านก็จะทำการคืนสินค้าที่เหลือทั้งหมดกลับมาที่บริษัทจัดจำหน่าย ตรงนี้นี่แหล่ะที่เป็นตัวปัญหาที่แก้ไม่ตกของเหล่าบริษัทจัดจำหน่ายทั้งหลาย เพราะสินค้าเหล่านั้นที่กลับมาถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด และจะเกิดอะไรขึ้นถ้ารายได้ (ยอดขายหักค่าลิขสิทธิ์และต้นทุนต่างๆ) น้อยกว่ามูลค่าของสินค้าที่กลับเข้ามา คำตอบง่ายๆคือ “ขาดทุน” ทีนี้เพื่อนๆอาจจะมีคำถามตามมาว่า แล้วต้องผลิตออกมาเท่าไหร่ถึงจะไม่ขาดทุน สำหรับศิลปินที่เคยมีผลงานมาแล้วก็จะง่ายหน่อย ทางค่ายก็จะใช้ตัวเลขยอดขายของอัลบั้มที่แล้วมาเป็นบรรทัดฐาน (base) แล้วก็ดูกระแสของตลาดว่าตัวศิลปินนั้นๆ มีผลงานอื่นๆออกมามั้ย ณ.ช่วงเวลานั้นๆ เช่น ถ้าฟิลม์กำลังจะออกอัลบั้มใหม่ ทางค่ายก็จะดูแล้วว่าฟิลม์ชุดที่แล้วมียอดขายอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วก็จะมาดูกระแสของฟิลม์ ณ.เวลานี้เป็นยังไง มีผลงานอะไรอยู่บ้างมั้ย มีงานถ่ายโฆษณาอะไรอยู่รึเปล่า ถ้าช่วงเวลาที่จะออกอัลบั้มใหม่นั้น ศิลปินมีผลงาน หรือกระแสอยู่ในตลาด ตัวเลขก็อาจจะเพิ่มขึ้นจากยอดขายชุดที่แล้วบ้าง ทีนี้ถ้าเป็นศิลปินใหม่หล่ะจะมีวิธีกำหนดตัวเลขยังไง ปัจจัยหลักที่จะนำมาคำนวณตัวเลขคือตัวศิลปินเอง ศิลปินเป็นบอยแบนด์ (Boy Band) รึเปล่า หน้าตาของศิลปินก็ถือว่าเป็นปัจจัยหลักเหมือนกัน ปัจจัยที่สำคัญถัดมาคือลักษณะของเพลงหรือแนวเพลง เช่น เป็นเพลง pop หรือ rock หรือ hip-hop ถามว่าปัจจัยตัวนี้สำคัญยังไง สำคัญตรงที่ว่าตลาดที่บริโภค (consume) แนวเพลงต่างๆ ย่อมมีขนาดตลาดที่ไม่เท่ากัน ซึ่งขนาดตลาดที่ใหญ่ที่สุดแน่นอนก็คือ ตลาดเพลงป๊อปนั่นเอง โดยเฉพาะ เอเชี่ยนป๊อบ (Asian pop) ผมอยากเรียกมันว่า เกาหลีป๊อปมากกว่า (Korean pop) เพราะเห็นไปก๊อปเขามาทั้ง รูปลักษณ์ (look) และทั้งดนตรี (sound) ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นกระแสอยู่จริงๆ (เฮ้อ) แต่ทั้งหมดที่พูดมาก็ไม่สามารถกะรันตีได้ว่าจะเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ ซึ่งถ้าโชคดีก็จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า สินค้าขาดตลาด เช่น อัลบั้ม Be my guest ของค่าย ต่า ล้า ลา (สะกดถูกรึเปล่าไม่แน่ใจ) คุณกอล์ฟ (ไม่มีไมค์) เบญจพล หลังจากที่มีประสบการณ์จากอัลบั้มที่ผ่านมา ทำให้เขาไม่กล้าใส่ตัวเลขเข้าไปมาก เพราะกลัวจะเจ็บ (อีกครั้ง) แต่ผลกลับไม่เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ กระแสของอัลบั้มนี้ดังขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่คุณกอล์ฟมีโอกาสได้ออกประชาสัมพันธ์อัลบั้มนี้ตามรายการทีวีต่างๆ และประกอบกับศิลปินที่เข้ามาร่วมแจมครั้งนี้มีอยู่หลากหลายและน่าสนใจมากมายทำให้เกิดเป็นกระแสได้อย่างดีทีเดียว ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าสินค้าขาดตลาด (ต้องขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ) ต้องคอยจับตาดูอัลบั้ม Be my guest 2 ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ใช่ว่าทุกคนจะโชคดีแบบนี้ ผมขอใช้คำว่าส่วนน้อยเลยดีกว่าที่จะโชคดีแบบนี้ เพราะส่วนใหญ่จะเจอเหตุการณ์ตรงกันข้ามครับ คือ แทนที่จะขายได้(อย่างน้อย)ตามที่คาดการณ์ไว้ กลับขายได้ไม่ถึงเป้า(มาก) ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น สำหรับผมๆขอแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ คุณภาพของสินค้า และการตลาด
1) คุณภาพสินค้า ไม่ว่าจะเป็นตัวศิลปินเองหรือคุณภาพของเพลงที่ออกมา ถ้าตัวศิลปินเองนั้นไม่มีความน่าสนใจ หรือกระแสความดังของศิลปินนั้นๆลดลง ก็ย่อมส่งผลถึงยอดขายด้วยเช่นกัน ส่วนคุณภาพเพลงนี่คงไม่ต้องพูดถึงมาก ผมเชื่อเพื่อนๆคงเคยรู้สึกสะอิดสะเอียนกับนักร้องบางคนหรือบางกลุ่ม และนึกอยู่ในใจดังๆว่า “ออกมาได้ไงวะเนี่ย” ในกรณีนี้ผมไม่ขอยกตัวอย่างแล้วกัน (ไม่อยากไปตอกย้ำเขา)
2) การตลาด นี่เป็นอีกปัจจัยหลักที่มีผลอย่างมากกับยอดขาย ถ้าคิดว่าสินค้าออกมาดีแล้วนั้น สิ่งที่จำเป็นต่อมาก็คือการทำให้สินค้านั้นเป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เพราะถ้ากลุ่มนี้ไม่ได้ยินแล้วใครจะมาซื้อจริงมั้ย นอกจากการโปรโมทออกไปแล้วนั้น การสร้างภาพลักษณ์ (Image) ให้แก่ตัวสินค้าก็เป็นเรื่องสำคัญ การทำให้สินค้าดูดีเป็นที่หน้าเชื่อถือจะส่งผลกับยอดขายมิใช่น้อย สำหรับบริษัทที่มีการทำการตลาดที่ดี ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตัวสินค้าผมขอยกให้แกรมมี่ครับ จะเห็นได้จากความดังของ กอล์ฟ ไมค์ ที่ดังจนฉุดไม่อยู่ จะเป็นเพราะว่ากระแสของเอเชี่ยนป๊อปมาแรงหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่เขาก็ทำสำเร็จครับ ขอปรบมือให้ครับ
ซึ่ง 2 ข้อนี้จะต้องมีพร้อม ไม่ควรขาดข้อใดข้อหนึ่ง ต่อให้บริษัทนั้นมีสินค้าที่มีคุณภาพเพียงใด แต่ถ้าการตลาดอ่อนแอสินค้านั้นก็ย่อมไปไม่ถึงจุดหมายอย่างแน่นอน ที่ผ่านมามีอยู่ 2 อัลบั้มที่ผมเสียดายไม่หายจนถึงทุกวันนี้ หนึ่งคืออัลบั้ม All for men ส่วนอีกอัลบั้มหนึ่งคืออัลบั้ม Center point อัลบั้มทั้งสองนี้ล้วนเป็นของค่ายจากฝั่งลาดพร้าวทั้งนั้น ที่น่าแปลกก็คือเพลงในอัลบั้ม All for men แต่ละเพลงนั้น (ไม่ต่ำกว่าครึ่ง) เป็นเพลงที่ค่อนข้างติดหู เคยได้ยินเขาเปิดเพลงของ All for men ในผับ คนร้องตามกันได้หมด เพื่อนผมก็ร้องได้ แต่พอผมถามเพื่อนว่ารู้มั้ยว่าเป็นเพลงของใคร คำตอบที่ได้คือ “กูไม่รู้หว่ะ” เห็นมั้ยครับ เพลงที่มีคุณภาพแต่ขาดทางด้านการตลาดที่ดี แต่ในบางครั้งถ้าสินค้ามีความแข็งแกร่งมากๆ การตลาดอาจจะไม่จำเป็นต้องออกแรงมากก็ได้ เพราะมันจะเกิดกระแสขึ้นมาเองที่เรียกว่า ปากต่อปาก หรือ Word of mouth อัลบั้มตัวอย่างที่ไม่ยกมาพูดไม่ได้นั่นคือ อัลบั้มของ โต๋ นั่นเอง เพื่อนๆคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอัลบั้มของน้องโต๋ หรือแม้แต่ตัวน้องโต๋เองตอนนี้เป็นกระแสอยู่จริงๆ สาวเล็กสาวใหญ่ต่างกรีดหนุ่มน้อยคนนี้ แถมตัวน้องเองมี profile ที่ดีมากจึงได้เป็น presenter ของสินค้าซุปไก่สกัดตรา แบรนด์ Brand อันที่จริง (โดยส่วนตัว) ผมคิดว่าที่น้องเขามาได้ขนาดนี้ส่วนหนึ่ง แน่นอนมาจากตัวน้องเอง แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยนั่นก็คือ การออกอัลบั้มภายใต้สังกัด Bakery ซึ่งพอพูดถึง Bakery แน่นอนภาพที่ตามมาก็คือพี่บอยด์ ของเรานี่เอง พี่บอยด์ได้สร้างภาพลักษณ์ (Image)ที่ดีมากให้กับค่ายนี้ เอาไว้ผมจะกลับมาพูดเรื่องนี้กันอีกในครั้งต่อๆไปนะครับ แต่เพื่อนๆรู้ไหมครับสิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่านั่นก็คือ การมีสินค้าแย่ (โดยเจ้าตัวไม่รู้ว่าแย่) แต่มีการตลาดที่ดี เพราะจะเป็นการกระจายชื่อเสียได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เห็นแล้วใช่มั้ยครับ ความลำบากของชาวผู้จัดจำหน่าย ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆนานา ทั้งต้นทุนการผลิต ต้นทุนการขนส่ง (logistics) กับมูลค่าสินค้าที่คืนกลับมา แถมทั้งยังต้องต่อกรกับพวกเทปผีซีดีเถื่อนอีก ดังนั้นบริษัทใหญ่ทั้งหลายต่างก็เริ่มรู้สึกตัวว่าสู้พวกพลังมืดนี้ไม่ได้จึงเริ่มที่จะหันมาให้บริการดาวน์โหลด Download เพลงกันเอง หรือที่เรียกว่า Digital Music ด้าน RS มี Mixiclub ส่วนทางด้าน GMM ก็ส่ง ikeyclub มารับมือ เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปกับตลาดมืด แต่ในทางกลับกันมันก็ส่งผลไม่มากก็น้อยกับตลาด CD/VCD ผมเองได้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในธุรกิจนี้ เคยไปแวะเยี่ยมเยียนร้านค้าต่างๆ เพื่อนๆรู้มั้ยครับผมเจอคำถามอะไร เจ้าของร้านมักจะถามผมว่า “เขาจะเลิกขาย CD/VCD แล้วหรอ” ผมถึงกับอึ้งไปเลยตอบไม่ถูกเหมือนกัน ได้แต่ตอบกลับไปว่า “ไม่ถึงขั้นนั้นหรอกพี่” แล้วยิ่งพักหลังนี้ผู้นำฝั่งลาดพร้าวได้ออกมาประกาศและเน้นย้ำว่าเขาจะไปทางดิจิตอล (Digital) เต็มตัว จะเป็น “Entertainment and sport content provider” ซึ่งจะเห็นได้จากการริเริ่มทำศิลปินไซเบอร์ชื่อ “DDZ” คำถามของผมก็คืออุตสาหกรรมเพลงในเมืองไทยพร้อมแล้วหรือที่จะยอมรับรายได้จากทางดิจิตอล (Digital music) เพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจรายได้จากฝั่ง CD/VCD (physical product) โดยส่วนตัวเองนี้ ผมยังเชื่อว่าธุรกิจ CD/VCD นี้ยังสามารถอยู่ได้ ถ้ามีการบริหารต้นทุนอย่างจริงจัง มีการกำหนดเป้าของแต่ละอัลบั้มอย่างถูกต้อง หรือให้ได้ใกล้เคียงกับยอดขายจริง ธุรกิจนี้ยังสามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอนครับ และที่สำคัญผมเชื่อว่าคนเรายังคงฟัง CD และดู VCD กันอยู่เยอะครับ มาถึงตรงนี้เพื่อนๆมีความคิดเห็นยังไงมาแชร์กันได้เลยครับ ไม่ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยประการใด ยินดีรับฟังครับ
ฉลองครบล้านตลับ! หรือ 1 mil copies! เพื่อนๆคงเคยได้ยินกันมาบ้างนะครับสำหรับคนยุคเดียวกับผม ช่วงหนึ่งของวงการเพลงบ้านเรา เพื่อนๆจะได้ยินค่ายเพลงต่างๆออกมาประกาศฉลองครบล้านกันอยู่บ่อยๆ แม้กระทั่งแร๊พเปอร์หนุ่มจากค่ายเล็กๆอย่าง Bakery Music, Joeyboy ก็ยังได้ฉลองครบล้านกันไป เป็นยุคสมัยที่วงการเพลงเติบโตอย่างมาก มีค่ายเล็กค่ายน้อยต่างผุดขึ้นมาเป็นเหมือนดอกเห็ด แต่ทุกวันนี้เพื่อนๆยังได้ยินอัลบั้มไหนฉลองครบล้านกันบ้างมั้ยครับ อืมมมม ... ผมว่าน้อยนะ เท่าที่นึกได้ก็มี โปงลางสะออน เท่าที่รู้ทุกวันนี้อัลบั้มไหนขายได้เลข 6 หลักก็ถือว่าสุดยอดแล้วครับ
เปิดหัวเรื่องกันแบบนี้ ถูกต้องครับ! วันนี้เรามาพูดคุยถึงเรื่องตลาด CD/VCD เพลงของบ้านเรากันดีกว่าครับ ทุกวันนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆคงได้ยินเรื่องกระแสเพลงดิจิตอล (Digital music) ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ตลาด CD/VCD หรือที่เรียกว่า physical goods เวลาของ CD/VCD หมดแล้วงั้นหรือ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ผมว่าเรามารู้จักตลาด physical นี้กันก่อนดีกว่านะครับ
เพื่อนๆรู้มั้ยว่าสินค้าประเภทเพลงนี้มีอายุค่อนข้างสั้นมาก ถึงสั้นมากที่สุด คืออัลบั้มไหนไม่มีกระแสภายใน 1 อาทิตย์ถึง 1 เดือน ก็เตรียมขุดหลุมฝัง เนื่องจากธรรมชาติของธุรกิจ CD/VCD นั้น เป็นธุรกิจที่สามารถคืนสินค้าได้ 100% ถามว่ามันหมายความว่าไง มันหมายความว่า เมื่อร้านค้า (ยี่ปั๊ว, ซาปั๊ว) รับสินค้าไปขายนั้น เมื่อถึงเวลาหนึ่ง เมื่อสินค้าเริ่มไม่มียอดขาย(ขายไม่ออก) ทางร้านก็จะทำการคืนสินค้าที่เหลือทั้งหมดกลับมาที่บริษัทจัดจำหน่าย ตรงนี้นี่แหล่ะที่เป็นตัวปัญหาที่แก้ไม่ตกของเหล่าบริษัทจัดจำหน่ายทั้งหลาย เพราะสินค้าเหล่านั้นที่กลับมาถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด และจะเกิดอะไรขึ้นถ้ารายได้ (ยอดขายหักค่าลิขสิทธิ์และต้นทุนต่างๆ) น้อยกว่ามูลค่าของสินค้าที่กลับเข้ามา คำตอบง่ายๆคือ “ขาดทุน” ทีนี้เพื่อนๆอาจจะมีคำถามตามมาว่า แล้วต้องผลิตออกมาเท่าไหร่ถึงจะไม่ขาดทุน สำหรับศิลปินที่เคยมีผลงานมาแล้วก็จะง่ายหน่อย ทางค่ายก็จะใช้ตัวเลขยอดขายของอัลบั้มที่แล้วมาเป็นบรรทัดฐาน (base) แล้วก็ดูกระแสของตลาดว่าตัวศิลปินนั้นๆ มีผลงานอื่นๆออกมามั้ย ณ.ช่วงเวลานั้นๆ เช่น ถ้าฟิลม์กำลังจะออกอัลบั้มใหม่ ทางค่ายก็จะดูแล้วว่าฟิลม์ชุดที่แล้วมียอดขายอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วก็จะมาดูกระแสของฟิลม์ ณ.เวลานี้เป็นยังไง มีผลงานอะไรอยู่บ้างมั้ย มีงานถ่ายโฆษณาอะไรอยู่รึเปล่า ถ้าช่วงเวลาที่จะออกอัลบั้มใหม่นั้น ศิลปินมีผลงาน หรือกระแสอยู่ในตลาด ตัวเลขก็อาจจะเพิ่มขึ้นจากยอดขายชุดที่แล้วบ้าง ทีนี้ถ้าเป็นศิลปินใหม่หล่ะจะมีวิธีกำหนดตัวเลขยังไง ปัจจัยหลักที่จะนำมาคำนวณตัวเลขคือตัวศิลปินเอง ศิลปินเป็นบอยแบนด์ (Boy Band) รึเปล่า หน้าตาของศิลปินก็ถือว่าเป็นปัจจัยหลักเหมือนกัน ปัจจัยที่สำคัญถัดมาคือลักษณะของเพลงหรือแนวเพลง เช่น เป็นเพลง pop หรือ rock หรือ hip-hop ถามว่าปัจจัยตัวนี้สำคัญยังไง สำคัญตรงที่ว่าตลาดที่บริโภค (consume) แนวเพลงต่างๆ ย่อมมีขนาดตลาดที่ไม่เท่ากัน ซึ่งขนาดตลาดที่ใหญ่ที่สุดแน่นอนก็คือ ตลาดเพลงป๊อปนั่นเอง โดยเฉพาะ เอเชี่ยนป๊อบ (Asian pop) ผมอยากเรียกมันว่า เกาหลีป๊อปมากกว่า (Korean pop) เพราะเห็นไปก๊อปเขามาทั้ง รูปลักษณ์ (look) และทั้งดนตรี (sound) ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นกระแสอยู่จริงๆ (เฮ้อ) แต่ทั้งหมดที่พูดมาก็ไม่สามารถกะรันตีได้ว่าจะเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ ซึ่งถ้าโชคดีก็จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า สินค้าขาดตลาด เช่น อัลบั้ม Be my guest ของค่าย ต่า ล้า ลา (สะกดถูกรึเปล่าไม่แน่ใจ) คุณกอล์ฟ (ไม่มีไมค์) เบญจพล หลังจากที่มีประสบการณ์จากอัลบั้มที่ผ่านมา ทำให้เขาไม่กล้าใส่ตัวเลขเข้าไปมาก เพราะกลัวจะเจ็บ (อีกครั้ง) แต่ผลกลับไม่เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ กระแสของอัลบั้มนี้ดังขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่คุณกอล์ฟมีโอกาสได้ออกประชาสัมพันธ์อัลบั้มนี้ตามรายการทีวีต่างๆ และประกอบกับศิลปินที่เข้ามาร่วมแจมครั้งนี้มีอยู่หลากหลายและน่าสนใจมากมายทำให้เกิดเป็นกระแสได้อย่างดีทีเดียว ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าสินค้าขาดตลาด (ต้องขอแสดงความยินดีด้วยนะครับ) ต้องคอยจับตาดูอัลบั้ม Be my guest 2 ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ใช่ว่าทุกคนจะโชคดีแบบนี้ ผมขอใช้คำว่าส่วนน้อยเลยดีกว่าที่จะโชคดีแบบนี้ เพราะส่วนใหญ่จะเจอเหตุการณ์ตรงกันข้ามครับ คือ แทนที่จะขายได้(อย่างน้อย)ตามที่คาดการณ์ไว้ กลับขายได้ไม่ถึงเป้า(มาก) ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น สำหรับผมๆขอแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ คุณภาพของสินค้า และการตลาด
1) คุณภาพสินค้า ไม่ว่าจะเป็นตัวศิลปินเองหรือคุณภาพของเพลงที่ออกมา ถ้าตัวศิลปินเองนั้นไม่มีความน่าสนใจ หรือกระแสความดังของศิลปินนั้นๆลดลง ก็ย่อมส่งผลถึงยอดขายด้วยเช่นกัน ส่วนคุณภาพเพลงนี่คงไม่ต้องพูดถึงมาก ผมเชื่อเพื่อนๆคงเคยรู้สึกสะอิดสะเอียนกับนักร้องบางคนหรือบางกลุ่ม และนึกอยู่ในใจดังๆว่า “ออกมาได้ไงวะเนี่ย” ในกรณีนี้ผมไม่ขอยกตัวอย่างแล้วกัน (ไม่อยากไปตอกย้ำเขา)
2) การตลาด นี่เป็นอีกปัจจัยหลักที่มีผลอย่างมากกับยอดขาย ถ้าคิดว่าสินค้าออกมาดีแล้วนั้น สิ่งที่จำเป็นต่อมาก็คือการทำให้สินค้านั้นเป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย เพราะถ้ากลุ่มนี้ไม่ได้ยินแล้วใครจะมาซื้อจริงมั้ย นอกจากการโปรโมทออกไปแล้วนั้น การสร้างภาพลักษณ์ (Image) ให้แก่ตัวสินค้าก็เป็นเรื่องสำคัญ การทำให้สินค้าดูดีเป็นที่หน้าเชื่อถือจะส่งผลกับยอดขายมิใช่น้อย สำหรับบริษัทที่มีการทำการตลาดที่ดี ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตัวสินค้าผมขอยกให้แกรมมี่ครับ จะเห็นได้จากความดังของ กอล์ฟ ไมค์ ที่ดังจนฉุดไม่อยู่ จะเป็นเพราะว่ากระแสของเอเชี่ยนป๊อปมาแรงหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่เขาก็ทำสำเร็จครับ ขอปรบมือให้ครับ
ซึ่ง 2 ข้อนี้จะต้องมีพร้อม ไม่ควรขาดข้อใดข้อหนึ่ง ต่อให้บริษัทนั้นมีสินค้าที่มีคุณภาพเพียงใด แต่ถ้าการตลาดอ่อนแอสินค้านั้นก็ย่อมไปไม่ถึงจุดหมายอย่างแน่นอน ที่ผ่านมามีอยู่ 2 อัลบั้มที่ผมเสียดายไม่หายจนถึงทุกวันนี้ หนึ่งคืออัลบั้ม All for men ส่วนอีกอัลบั้มหนึ่งคืออัลบั้ม Center point อัลบั้มทั้งสองนี้ล้วนเป็นของค่ายจากฝั่งลาดพร้าวทั้งนั้น ที่น่าแปลกก็คือเพลงในอัลบั้ม All for men แต่ละเพลงนั้น (ไม่ต่ำกว่าครึ่ง) เป็นเพลงที่ค่อนข้างติดหู เคยได้ยินเขาเปิดเพลงของ All for men ในผับ คนร้องตามกันได้หมด เพื่อนผมก็ร้องได้ แต่พอผมถามเพื่อนว่ารู้มั้ยว่าเป็นเพลงของใคร คำตอบที่ได้คือ “กูไม่รู้หว่ะ” เห็นมั้ยครับ เพลงที่มีคุณภาพแต่ขาดทางด้านการตลาดที่ดี แต่ในบางครั้งถ้าสินค้ามีความแข็งแกร่งมากๆ การตลาดอาจจะไม่จำเป็นต้องออกแรงมากก็ได้ เพราะมันจะเกิดกระแสขึ้นมาเองที่เรียกว่า ปากต่อปาก หรือ Word of mouth อัลบั้มตัวอย่างที่ไม่ยกมาพูดไม่ได้นั่นคือ อัลบั้มของ โต๋ นั่นเอง เพื่อนๆคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอัลบั้มของน้องโต๋ หรือแม้แต่ตัวน้องโต๋เองตอนนี้เป็นกระแสอยู่จริงๆ สาวเล็กสาวใหญ่ต่างกรีดหนุ่มน้อยคนนี้ แถมตัวน้องเองมี profile ที่ดีมากจึงได้เป็น presenter ของสินค้าซุปไก่สกัดตรา แบรนด์ Brand อันที่จริง (โดยส่วนตัว) ผมคิดว่าที่น้องเขามาได้ขนาดนี้ส่วนหนึ่ง แน่นอนมาจากตัวน้องเอง แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยนั่นก็คือ การออกอัลบั้มภายใต้สังกัด Bakery ซึ่งพอพูดถึง Bakery แน่นอนภาพที่ตามมาก็คือพี่บอยด์ ของเรานี่เอง พี่บอยด์ได้สร้างภาพลักษณ์ (Image)ที่ดีมากให้กับค่ายนี้ เอาไว้ผมจะกลับมาพูดเรื่องนี้กันอีกในครั้งต่อๆไปนะครับ แต่เพื่อนๆรู้ไหมครับสิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่านั่นก็คือ การมีสินค้าแย่ (โดยเจ้าตัวไม่รู้ว่าแย่) แต่มีการตลาดที่ดี เพราะจะเป็นการกระจายชื่อเสียได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เห็นแล้วใช่มั้ยครับ ความลำบากของชาวผู้จัดจำหน่าย ที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆนานา ทั้งต้นทุนการผลิต ต้นทุนการขนส่ง (logistics) กับมูลค่าสินค้าที่คืนกลับมา แถมทั้งยังต้องต่อกรกับพวกเทปผีซีดีเถื่อนอีก ดังนั้นบริษัทใหญ่ทั้งหลายต่างก็เริ่มรู้สึกตัวว่าสู้พวกพลังมืดนี้ไม่ได้จึงเริ่มที่จะหันมาให้บริการดาวน์โหลด Download เพลงกันเอง หรือที่เรียกว่า Digital Music ด้าน RS มี Mixiclub ส่วนทางด้าน GMM ก็ส่ง ikeyclub มารับมือ เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปกับตลาดมืด แต่ในทางกลับกันมันก็ส่งผลไม่มากก็น้อยกับตลาด CD/VCD ผมเองได้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในธุรกิจนี้ เคยไปแวะเยี่ยมเยียนร้านค้าต่างๆ เพื่อนๆรู้มั้ยครับผมเจอคำถามอะไร เจ้าของร้านมักจะถามผมว่า “เขาจะเลิกขาย CD/VCD แล้วหรอ” ผมถึงกับอึ้งไปเลยตอบไม่ถูกเหมือนกัน ได้แต่ตอบกลับไปว่า “ไม่ถึงขั้นนั้นหรอกพี่” แล้วยิ่งพักหลังนี้ผู้นำฝั่งลาดพร้าวได้ออกมาประกาศและเน้นย้ำว่าเขาจะไปทางดิจิตอล (Digital) เต็มตัว จะเป็น “Entertainment and sport content provider” ซึ่งจะเห็นได้จากการริเริ่มทำศิลปินไซเบอร์ชื่อ “DDZ” คำถามของผมก็คืออุตสาหกรรมเพลงในเมืองไทยพร้อมแล้วหรือที่จะยอมรับรายได้จากทางดิจิตอล (Digital music) เพียงอย่างเดียว โดยไม่สนใจรายได้จากฝั่ง CD/VCD (physical product) โดยส่วนตัวเองนี้ ผมยังเชื่อว่าธุรกิจ CD/VCD นี้ยังสามารถอยู่ได้ ถ้ามีการบริหารต้นทุนอย่างจริงจัง มีการกำหนดเป้าของแต่ละอัลบั้มอย่างถูกต้อง หรือให้ได้ใกล้เคียงกับยอดขายจริง ธุรกิจนี้ยังสามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอนครับ และที่สำคัญผมเชื่อว่าคนเรายังคงฟัง CD และดู VCD กันอยู่เยอะครับ มาถึงตรงนี้เพื่อนๆมีความคิดเห็นยังไงมาแชร์กันได้เลยครับ ไม่ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยประการใด ยินดีรับฟังครับ